ความแตกต่างระหว่างตู้จ่ายน้ำมันทั่วไปกับตู้จ่ายน้ำมันที่มีโปรแกรมจัดการน้ำมัน
เลือกตู้จ่ายน้ำมัน ตู้จ่ายน้ำมันที่มีโปรแกรมจัดการน้ำมัน อย่างไรให้ตอบโจทย์ธุรกิจ
น้ำมันเชื้อเพลิง คือ หนึ่งในปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่สุดในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของทุกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในด้านของการดำรงชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการเดินทาง และการขนส่งทั้งภายในและภายนอกประเทศ เพื่อช่วยทำให้ธุรกิจและแรงงานในภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสามารถก้าวต่อไปข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะถึงแม้ว่าในปัจจุบันนี้ ระบบสำหรับการกระจายสินค้าและการขนส่งสินค้าในรูปแบบของระบบรางจะก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อระบบการขนส่งและระบบโลจิสติกส์มากขึ้น แต่หลายประเทศส่วนใหญ่ในโลกก็ยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาระบบการขนส่งด้วยยานพาหนะที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงหลักในการขับเคลื่อนเครื่องยนต์อยู่ด้วยเช่นกัน
ส่งผลให้ธุรกิจเกี่ยวกับสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นหนึ่งในธุรกิจในอุตสาหกรรมด้านพลังงานได้มีการเติบโตเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน แน่นอนว่าในการทำธุรกิจทุกประเภทนั้น ย่อมมีเรื่องของผลกำไรเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างแน่นอน ส่งผลให้ต้นทุนที่ผู้ประกอบการในกิจการเกี่ยวกับการขนส่ง หรือแม้แต่ผู้ประกอบการโรงงานผลิตและส่งออกส่วนใหญ่ต้องแบกรับ คือ “ค่าการตลาด” ซึ่งเป็นต้นทุนที่ถูกนำเอามารวมไว้ในเงินที่เราจะต้องจ่ายเพื่อเป็นค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่เติม เพราะฉะนั้น จะดีกว่าไหม ถ้าหากในวันนี้เราสามารถลงทุนเพื่อการติดตั้งระบบตู้จ่ายน้ำมันและหัวจ่ายน้ำมันภายในองค์กร เพื่อที่จะได้มีน้ำมันเชื้อเพลิงราคาถูกสำหรับใช้งานในกิจการของตนเอง วันนี้เราจึงมีข้อมูลดี ๆ ที่เกี่ยวข้องการเลือกใช้งาน “ตู้จ่ายน้ำมัน” ทั้งประเภทตู้จ่ายน้ำมันทั่วไป และตู้จ่ายน้ำมันที่มีโปรแกรมจัดการน้ำมัน ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับยานพาหนะมาฝากทุกคนกัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจก่อนที่จะเลือกลงทุนกับตู้จ่ายน้ำมัน เพื่อให้สามารถช่วยลดรายจ่ายให้กับธุรกิจและองค์ได้อย่างคุ้มค่าที่มากที่สุด
ตู้จ่ายน้ำมันคืออะไร?
ตู้จ่ายน้ำมัน ถือเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับสถานประกอบการ องค์กร หรือหน่วยงาน ที่มีความต้องการในการใช้งานน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นจำนวนมาก เนื่องจากตู้จ่ายน้ำมันเป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่ในการจำหน่ายและควบคุมการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับเครื่องจักรและยานพาหนะ เพื่อการขนส่งต่าง ๆ โดยตรง ซึ่งตู้จ่ายน้ำมันจะประกอบไปด้วยส่วนของปั๊มดูดน้ำมันแบบตั้งตรง ที่มาพร้อมด้วยอุปกรณ์สำหรับใช้ในการตรวจวัด เพื่อบันทึกค่าปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถูกจำหน่ายออกมาจากถังน้ำมันเหล็ก ก่อนจะถูกส่งไปยังบริเวณหัวจ่ายน้ำมัน ที่เชื่อมต่อโดยตรงอยู่กับสายยางที่มีความยืดหยุ่นเพื่อช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานที่ทำหน้าที่ในการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงสามารถใส่หัวจ่ายน้ำมันเข้าไปในตัวถังน้ำมันของพาหนะที่ต้องการจะเติมน้ำมันได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
ตู้จ่ายน้ำมันมีทั้งหมดกี่แบบ?
สำหรับประเภทของตู้จ่ายน้ำมันนั้น จะสามารถแบ่งออกตามลักษณะได้เป็น 2 รูปแบบ คือ การแบ่งตู้จ่ายน้ำมันตามประเภทของระบบไฟฟ้าที่ใช้ และการแบ่งตู้จ่ายน้ำมันตามประเภทของมิเตอร์วัดน้ำมัน ดังนี้
1.การแบ่งตู้จ่ายน้ำมันตามประเภทของระบบไฟฟ้าที่ใช้
• ตู้จ่ายน้ำมันแบบระบบไฟฟ้ากระแสสลับ เป็นตู้จ่ายน้ำมันที่มีการใช้แหล่งจ่ายไฟในรูปแบบของระบบไฟฟ้าแบบ AC ซึ่งเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ จึงมีข้อจำกัดตรงที่สามารถนำไปติดตั้งเพื่อการใช้งานได้เฉพาะในสถานที่ที่มีระบบไฟฟ้ากระแสสลับแบบ AC เท่านั้น ทำให้โดยส่วนมากแล้วมักจะต้องมีการติดตั้งอยู่กับที่ เนื่องจากไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวก ซึ่งข้อดีของตู้จ่ายน้ำมันแบบระบบไฟฟ้ากระแสสลับ คือระบบของตู้จ่ายน้ำมันนั้นจะมีอัตราการไหลของการจ่ายน้ำมันค่อนข้างเร็ว และคงที่ อีกทั้งยังมีสามารถนำมาใช้งานได้แบบต่อเนื่อง
• ตู้จ่ายน้ำมันแบบระบบไฟฟ้ากระแสตรง เป็นตู้จ่ายน้ำมันที่มีการใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้าแบบกระแสตรง DC หรือที่มักจะรู้จักกันในชื่อ "ไฟแบตเตอรี่รถยนต์ขนาด 12 หรือ 24 โวตล์” จึงทำให้ตู้จ่ายน้ำมันแบบระบบไฟฟ้ากระแสตรงนั้น สามารถทำการเคลื่อนย้ายเพื่อนำไปใช้งานได้ทุกที่แม้จะอยู่ในช่วงที่ระบบไฟฟ้าหลักมีปัญหา รวมถึงสามารถนำไปใช้งานในพื้นที่ที่ไฟฟ้ายังไม่สามารถเข้าถึงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งข้อจำกัดของตู้จ่ายน้ำมันประเภทนี้นั้น คือการจ่ายน้ำมันที่ไม่สามารถทำได้อย่างต่อเนื่องในปริมาณมากได้ เนื่องจากกระแสไฟจากแบตเตอรี่ไม่ค่อยคงที่ อีกทั้งยังมีรอบการใช้งานอยู่ที่ไม่เกิน 30 นาที ต่อการเติมน้ำมันหนึ่งครั้ง จึงทำให้ต้องมีการพักการเติมน้ำมันเป็นระยะ ๆ ตามปริมาณแรงดันไฟฟ้าในแบตเตอรี่
2. การแบ่งตู้จ่ายน้ำมันตามประเภทของมิเตอร์วัดน้ำมัน
• ตู้จ่ายน้ำมันแบบทั่วไป สามารถแบ่งออกได้ 2 ชนิด
1. ตู้จ่ายน้ำมัน แบบแมคคานิค เป็นระบบตู้จ่ายน้ำมันที่มีการนำระบบเฟืองเข้ามาใช้เพื่อเป็นกลไกในการขยับตัวเลขบนหน้าปัด เพื่อการแสดงผลการเติมน้ำมันให้กับรถยนต์ หรือเครื่องจักรภายในกิจการ ซึ่งตู้จ่ายน้ำมันแบบทั่วไปถือเป็นตู้จ่ายน้ำมันที่มีระบบการทำงานไม่ซับซ้อนและมีราคาไม่สูงมาก อีกทั้งยังสามารถติดตั้งได้ง่ายและใช้งานได้อย่างคงทน จึงทำให้นิยมนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย แต่ข้อจำกัดที่สำคัญที่สุดของตู้จ่ายน้ำมันแบบระบบทั่วไป คือการที่ตู้จ่ายน้ำมันประเภทนี้ไม่สามารถเรียกดูข้อมูลการเติมน้ำมันในแต่ละครั้งได้ว่า พนักงานคนไหนเป็นผู้ใช้งานหัวจ่ายน้ำมัน แล้วใช้ในเวลาไหน รวมถึงได้ทำการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงไปในปริมาณมากหรือน้อยเท่าไหร่ เพราะตู้จ่ายน้ำมันแบบระบบแมคคานิคจะสามารถดูยอดการเติมน้ำมันได้ในรูปแบบของเลขรวมลิตรของน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งหมดที่ใช้ไปในแต่ละวันเท่านั้น
2. ตู้จ่ายน้ำมัน แบบดิจิตอล เป็นตู้จ่ายน้ำมันที่ใช้หน้าจอของโฟลว์มิเตอร์ แบบดิจิตอลแสดงผลของจำนวนน้ำมันที่จ่ายออก รวมถึงแสดงราคาของน้ำมันได้อีกด้วย ซึ่งตู้จ่ายน้ำมันประเภทนี้ นิยมใช้ในสถานีบริการน้ำมัน โดยจะมีความแม่นยำในการจ่ายน้ำมันสูง และยังสามารถตั้งราคาของน้ำมันได้ รวมถึงการเชื่อมต่อเข้าระบบ POS เพื่อสรุปยอดขาย ทั้งนี้ยังสามารถระบุจำนวนลิตร หรือจำนวนบาทที่ต้องการเติมในแต่ละครั้งได้อีกด้วย
• ตู้จ่ายน้ำมัน พร้อมโปรแกรมจัดการน้ำมัน เป็นระบบตู้จ่ายน้ำมันที่ได้มีการนำระบบเซ็นเซอร์เข้ามาใช้เป็นกลไกในการวัดปริมาณในการจ่ายน้ำมัน และกำหนดการเติมน้ำมันผ่านระบบพรีเซ็ท (Preset) ที่จะแสดงตัวเลขจำนวนลิตรที่ต้องการจะเติมน้ำมันเชื้อเพลิงบนหน้าจอดิสเพลย์ (Display) โดยที่เมื่อกดเลือกปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องการเติมน้ำมันเรียบร้อยแล้ว ตู้จ่ายน้ำมันก็เริ่มเตรียมการรอจ่ายน้ำมัน เมื่อมีการบีบที่หัวจ่ายน้ำมัน น้ำมันก็จะเริ่มไหลออกมาจนครบตามจำนวนที่ได้ตั้งค่าเอาไว้ ก่อนที่หัวจ่ายน้ำมันจะถูกตัดการทำงานโดยอัตโนมัติ หรือในกรณีที่มีการตั้งค่าให้มีการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงจนเต็มถัง บริเวณส่วนปลายของท่อจ่ายน้ำมันที่มีเซ็นเซอร์อยู่ก็จะทำหน้าที่คอยตัดการจ่ายน้ำมันเมื่อน้ำมันใกล้จะเต็มถังแบบอัตโนมัติ แต่ผู้ใช้งานก็ยังสามารถทำการกดบีบที่หัวจ่ายน้ำมันให้จ่ายน้ำมันต่อได้จนกว่าจะเต็มถังจริงได้ ซึ่งตู้จ่ายน้ำมันจะจัดเก็บข้อมูลการเติมทุกครั้งที่มีการยกหัวจ่าย การใช้ตู้จ่ายน้ำมันแบบที่มีโปรแกรมจัดการน้ำมัน มีข้อดีอยู่ที่ความเที่ยงตรงของระบบจ่ายน้ำมัน ที่สามารถกำหนดปริมาณการเติมน้ำมันที่ต้องการได้ รวมถึงสามารถเรียกดูข้อมูลสำหรับการเติมน้ำมันในแต่ละครั้งได้ด้วยว่าใครเป็นผู้เติมน้ำมัน เติมในเวลาไหน และเติมให้รถยนต์คันไหน เพื่อความสะดวกในการจัดทำรายงานการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแบบรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือรายปี ได้ตามต้องการ
ตู้จ่ายน้ำมันทั่วไป และตู้จ่ายน้ำมันที่มีโปรแกรมจัดการน้ำมัน เลือกแบบไหนดี ?
อย่างที่กล่าวไปในข้างต้นว่าระบบของตู้จ่ายน้ำมันทั่วไป และตู้จ่ายน้ำมันที่มีโปรแกรมจัดการน้ำมัน จะมีความแตกต่างกันตรงที่การจัดเก็บข้อมูลของตู้จ่ายน้ำมัน เช่น เวลาในการเติม ชื่อผู้เติม ทะเบียนรถ เลขไมล์รถ และปริมาณการเติมน้ำมัน โดยจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถควบคุม และจัดการกับสต๊อกน้ำมันได้ดีและมีประสิทธิภาพมากกว่า เนื่องจากสามารถทราบไข้อมูลดดังกล่าว และยัง วยป้องกันการเติมน้ำมันโดยไม่ได้รับอนุญาตได้ แต่ทั้งนี้ ตู้จ่ายน้ำมันที่มีโปรแกรมจัดการน้ำมันนั้นมีระบบที่มีความสลับซับซ้อนมากกว่าระบบตู้จ่ายน้ำมันทั่วไป จึงทำให้ต้องมีการใช้ผู้เชี่ยวชาญในการดำเนินการติดตั้งและดูแล ซึ่งจะส่งผลต่อค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นกว่าการใช้งานตู้จ่ายน้ำมันทั่วไปนั่นเอง
สำหรับใครที่กำลังสนใจในการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการค้าปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง รวมไปถึงผู้ประกอบการที่ต้องการจะลงทุนในตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อการใช้ในกิจการขนส่งของตนเอง พีดี เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ซัพพลาย ยินดีให้คำปรึกษาและพร้อมให้การดูแลทุกความต้องการของคุณด้วยผู้เชี่ยวชาญตลอด 24 ชั่วโมง เพียงแค่คุณกดปุ่มช่อง Chat บริเวณมุมขวาด้านล่าง ก็จะสามารถติดต่อกับเราได้ในทันที
สนใจสอบถามรายละเอียดและราคาติดต่อ :
บจก.พีดีเอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ซัพพลาย
โทรศัพท์ : 065-5121818 (ฝ่ายขาย) หรือ 089-9966974 (สายด่วน)
Website : www.pdesupply.com
Email : peerapong.p@pdesupply.com
LINE : @pdengineering