มาตรฐานความปลอดภัยของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงจากผู้ให้บริการรับสร้างปั๊มน้ำมัน
พีดี เอ็นจิเนียริ่ง รับสร้างปั๊มน้ำมันภายใต้กฎกระทรวงพลังงาน
หนึ่งในหัวข้อที่เจ้าของกิจการและผู้ให้บริการรับสร้างปั๊มน้ำมันต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ นั้นก็คือมาตรฐานความปลอดภัยของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถูกระบุไว้ในกฎกระทรวงพลังงาน พ.ศ. 2552 ที่ได้รับอำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งเปรียบเสมือนข้อกำหนดที่ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างมาตรฐาน ที่จะส่งผลถึงความปลอดภัยของทั้งผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ และยังรวมไปถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่โดยรอบสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงของเราอีกด้วย ทำให้หัวข้อมาตรฐานความปลอดภัยคืออีกหนึ่งหัวข้อสำคัญของเจ้าของกิจการและผู้ให้บริการรับสร้างปั๊มน้ำมันจำเป็นต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ถึงจะได้รับใบอนุญาตสถานีบริการน้ำมันที่บ่งบอกถึงมาตรฐานที่สามารถเปิดให้บริการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงเลยก็ว่าได้
เริ่มต้นทำความเข้าใจกับสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละประเภท
ในพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ได้มีการกำหนดประเภทของการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิงไว้หลายประเภทด้วยกัน ซึ่งจะถูกกำหนดโดยแบ่งตามปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่กักเก็บไว้, ลักษณะการให้บริการของสถานีบริการน้ำมัน และตำแหน่งการให้บริการของสถานีบริการน้ำมัน โดยประเภทที่เรามักจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีและเป็นที่นิยมในการรับสร้างปั๊มน้ำมันก็คือ กิจการควบคุมประเภทที่ 3 ที่จำเป็นต้องได้รับใบอนุญาตสถานีบริการน้ำมันเสียก่อนจึงจะสามารถให้บริการได้ ซึ่งถูกแบ่งออกเป็น 7 ประเภทด้วยกัน แต่ประเภทที่จะมีการยกตัวอย่างถึงนั้นจะเป็นประเภทที่นิยมรับสร้างปั๊มน้ำมันได้แก่
- สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก. หรือ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่ติดถนนใหญ่ ซึ่งจะประกอบไปด้วย
ให้บริการแก่ยานพาหนะทางบก
- ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงต้องฝังใต้พื้นดินเท่านั้น
- มีสถานที่ตั้งที่ต้องติดเขตถนนทางหลวง หรือถนนสาธารณะ ที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า 12 เมตร หรือถนนส่วน
- บุคคลที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า 10 เมตรเป็นอย่างต่ำ
- ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงต้องฝังใต้พื้นดินเท่านั้น
- สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ข หรือ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่ติดถนนซอย ซึ่งจะประกอบไปด้วย
ให้บริการแก่ยานพาหนะทางบก
- ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงต้องฝังใต้ดินเท่านั้น
- สถานที่ตั้งต้องติดเขตถนนสาธารณะ ที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า 12 เมตรหรือถนนส่วนบุคคลที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า 10 เมตรเป็นอย่างต่ำ
- ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงต้องฝังใต้ดินเท่านั้น
- มาตรฐานการกักเก็บปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก. และ ข.
สำหรับสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก. และ ข. ที่ถูกจัดเป็นกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ที่ซึ่งต้องได้รับใบอนุญาตสถานีบริการน้ำมันเสียก่อนถึงจะสามารถเปิดให้บริการได้ ผู้ให้บริการรับสร้างปั๊มน้ำมันจะปฏิบัติมาตรฐานการเก็บน้ำมันที่ถูกระบุไว้ดังนี้
- สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก หากให้บริการในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากและปานกลางตามกฎหมายว่าด้วยผังเมือง สามารถเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงไวไฟมากได้ไม่เกิน 90,000 ลิตร แต่ทั้งนี้ ปริมาณการเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก ชนิดไวไฟปานกลาง หรือ ชนิดไวไฟน้อยรวมกันต้องไม่เกิน 180,000 ลิตร แต่ถ้าหากอยู่ในบริเวณอื่นที่นอกเหนือจากนี้ สามารถเก็บเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมากได้ไม่เกิน 180,000 ลิตร แต่ทั้งนี้ปริมาณการเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก ชนิดไวไฟปานกลาง หรือชนิดไวไฟน้อยรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 360,000 ลิตร
- สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ข สามารถเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมากได้ไม่เกิน 60,000 ลิตร และ เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟน้อยปานกลางหรือชนิดไวไฟน้อยรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 20,000 ลิตร
- สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก หากให้บริการในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากและปานกลางตามกฎหมายว่าด้วยผังเมือง สามารถเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงไวไฟมากได้ไม่เกิน 90,000 ลิตร แต่ทั้งนี้ ปริมาณการเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก ชนิดไวไฟปานกลาง หรือ ชนิดไวไฟน้อยรวมกันต้องไม่เกิน 180,000 ลิตร แต่ถ้าหากอยู่ในบริเวณอื่นที่นอกเหนือจากนี้ สามารถเก็บเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมากได้ไม่เกิน 180,000 ลิตร แต่ทั้งนี้ปริมาณการเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก ชนิดไวไฟปานกลาง หรือชนิดไวไฟน้อยรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 360,000 ลิตร
มาตรฐานการเก็บถังน้ำมันเชื้อเพลิง ระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องสูบ ตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และอุปกรณ์
โดยสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งประเภท ก. และประเภท ข. ที่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตสถานีบริการน้ำมันก่อนถึงจะสามารถให้บริการได้จะมีมาตรฐานที่เหมือนกันทั้งสองประเภท ซึ่งผู้ให้บริการรับสร้างปั๊มน้ำมันที่ได้มาตรฐานจะออกแบบอย่างถูกต้องตามกฎกระทรวงอย่างเคร่งครัด เราจะเห็นได้จากตัวอย่างบางส่วนดังนี้
ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดิน ต้องเป็นถังชนิดที่มีผนังสองชั้น และต้องออกแบบ ก่อสร้าง และผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน UL58 และ UL1746 หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่าตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดิน ผู้ให้บริการรับสร้างปั๊มน้ำมันต้องตั้งอยู่ในเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง โดยผนังต้องห่างจากเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงไม่น้อยกว่า 3 เมตร
- ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดิน ผู้ให้บริการรับสร้างปั๊มน้ำมันต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงล้นถัง (Overfill Protection) ที่ข้อต่อท่อระบายไอน้ำมันเชื้อเพลิง หรือ ที่ข้อต่อรับท่อน้ำมันเชื้อเพลิง
- ภายหลังก่อสร้างและติดตั้งถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดินเสร็จแล้ว ผู้ให้บริการรับสร้างปั๊มน้ำมันต้องทำการทดสอบการรั่วซึมของตัวถังและข้อต่อต่างๆ โดยวิธีการใช้แรงดันน้ำ แรงดันอากาศ หรือก๊าซเฉื่อย ให้เป็นไปตามที่กำหนด หรือจะทำการทดสอบโดยวิธีอื่นที่มีมาตรฐานเทียบเท่าตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาก็ได้ แต่หากพบกรณีรั่วซึม ต้องทำการตรวจสอบหารอยรั่วซึมแล้วทำการแก้ไข และทำการทดสอบอีกครั้ง จนกระทั่งไม่ปรากฏการรั่วซึม
- ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดินเมื่อใช้งานครบกำหนดสิบปี เจ้าของกิจการหรือผู้ให้บริการรับสร้างปั๊มน้ำมันต้องทำการทดสอบสภาพถังและอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพดีและสามารถใช้งานได้โดยปลอดภัยในลักษณะเดียวกับที่ได้กำหนดเอาไว้
- ระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิงและอุปกรณ์ที่ใช้กับถังเก็บถังน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดินต้องมีลักษณะและวิธีการติดตั้ง ที่ผ่านการออกแบบและก่อสร้างให้สามารถรับแรงและน้ำหนักต่างๆ ที่มากระทำต่อระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิงได้โดยปลอดภัย
- ภายหลังจากติดตั้งระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิงและอุปกรณ์เสร็จแล้ว ก่อนการใช้งานต้องทำการทดสอบการรั่วซึมโดยใช้แรงดันน้ำ แรงดันอากาศ หรือก๊าซเฉื่อยอัดด้วยแรงดันตามที่กำหนด
- เครื่องสูบและตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ติดตั้งกับถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดินต้องเป็นชนิดที่ใช้กับน้ำมันเชื้อเพลิงโดยเฉพาะ และต้องมีลักษณะและวิธีการติดตั้งเป็นไปตามที่กำหนดอย่างเคร่งครัด
จะเห็นได้ว่าก่อนจะมาเป็นสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่เราเห็นสามารถใช้บริการกันได้ทุกวันนี้ เจ้าของกิจการและผู้ให้บริการรับสร้างปั๊มน้ำมันจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงอย่างเคร่งครัดทุกข้อ ซึ่งเราจะเห็นได้จากตัวอย่างบางส่วนเหล่านี้ เพื่อนำไปสู่การได้รับใบอนุญาตสถานีบริการน้ำมันและช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการได้ว่า ผู้ให้บริการรับสร้างปั๊มน้ำมันของเรานั้นได้รับมาตรฐานที่ตรงกับข้อกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
สำหรับเจ้าของกิจการท่านใดที่กำลังมองหาผู้ให้บริการรับสร้างปั๊มน้ำมัน ที่เชี่ยวชาญการออกใบอนุญาตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง กิจการควบคุมน้ำมันประเภท 3 ที่ซึ่งได้รับมาตรฐานตรงกับที่กฎหมายกำหนด การเลือกใช้งานบริการจาก PD ENGINEERING & SUPPLY 2018 หรือ บจก. พีดี เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ ซัพพลาย 2018 ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เหมาะสม ด้วยความเป็นผู้น้ำด้านระบบจัดการน้ำมันครบวงจร สำหรับผู้ประกอบการโดยเฉพาะ นำเข้า ผลิตและจำหน่ายหัวจ่ายน้ำมัน ปั๊มดูดน้ำมันเชื้อเพลิง ตู้จ่ายน้ำมัน ถังน้ำมัน ระบบจัดการน้ำมัน พร้อมมีบริการขออนุญาตใบอนุญาตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง กิจการควบคุมทั้งประเภทที่ 2 และ ประเภทที่ 3 โดยผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์โดยตรง มั่นใจได้ถึงบริการรับสร้างปั๊มน้ำมันที่ตรงกับมาตรฐานตามกฎหมายกำหนดอย่างแน่นอน
สนใจสอบถามใบอนุญาตสถานีบริการน้ำมัน ตู้จ่ายน้ำมัน ถังน้ำมัน ถังน้ำมันเหล็ก
รายละเอียดและราคา ติดต่อ :
บจก.พีดีเอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ซัพพลาย
โทรศัพท์ : 065-5121818 (ฝ่ายขาย) หรือ 089-9966974 (สายด่วน)
Website : www.pdesupply.com
Email : peerapong.p@pdesupply.com
LINE : @pdengineering