ปั๊มดูดน้ำมันดีเซลต่างจากปั๊มดูดน้ำมันเบนซินอย่างไร
ปั๊มดูดน้ำมัน อุปกรณ์ในการสูบจ่ายน้ำมัน
สำหรับท่านที่สนใจเกี่ยวกับการทำธุรกิจปั๊มน้ำมัน หรือ แวดวงการจัดจำหน่ายระบบน้ำมัน สิ่งที่ท่านทั้งหลายไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง คือ น้ำมันที่ออกจากตู้จ่ายมีกระบวนการทำงานอย่างไร ดูผ่าน ๆ ตาจากพนักงานปั๊มเวลาเติมน้ำมัน ก็แค่หยิบหัวจ่ายออกมาแล้วก็กดเท่านั้น แต่กระบวนการส่งต่อน้ำมันจากตู้จ่ายน้ำมันไปยังรถของคุณนั้นจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ในการสูบน้ำมันขึ้นมายังหัวจ่ายถึงจะสามารถจ่ายน้ำมันออกไปยังยานพาหนะได้ อุปกรณ์นั้นเรียกว่า ปั๊มดูดน้ำมัน
ปั๊มที่ใช้สำหรับดูดน้ำมันจากหัวจ่ายน้ำมัน กับ ปั๊มดูดน้ำมันไปยังเครื่องยนต์มีวีธีการทำงานที่เหมือนกัน โดยเราได้รวบรวมปั๊มดูดน้ำมัน กล่าวคือ เครื่องจักรที่ทำหน้าที่ดูดน้ำมันเชื้อเพลิง ไม่ว่าจะเป็นเบนซิล ดีเซล จากถังน้ำมันผ่านไปยังตัวกรองน้ำมัน ทำงานโดยระบบกลไกสร้างแรงดันของน้ำมันเชื้อเพลิง รวมถึงระบบกลไกควบคุมปริมาณน้ำมันที่ถูกดูดออกไปส่งไปยังยานพาหนะ หรือ เครื่องจักรที่ต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงนั่นเอง
ประเภทของปั๊มดูดน้ำมัน
- ปั๊มดูดน้ำมันแบบแมคคานิค (Hand Pump)
- ปั๊มดูดเชื้อเพลิงระบบไฟฟ้า (Electric Pump)
- ปั๊มดูดน้ำมันระบบลม (Air Compressor Pump)
- ปั๊มดูดน้ำมันแบบแมคคานิค (Hand Pump)
หลักการทำงานของปั๊มชนิดนี้ก็คือ เมื่อปั๊มหมุนก็จะสลัดใบเวนให้ออกมาสัมผัสกับตัวเรือนปั๊ม โดยที่แกนของใบพัดจะติดเยื้องศูนย์อยู่ภายในตัวเรือนปั๊ม จากการที่แกนของใบพัดที่ติดตั้งอยู่อย่างเยื้องศูนย์จึงทำให้เวลาที่ใบพัดของปั๊มหมุนไปรอบ ๆ เรือนปั๊ม ปริมาตรช่องว่างระหว่างใบพัดของแต่ละช่วงไม่เท่ากัน โดยที่ในช่วงจังหวะดูดช่องว่างของใบพัดจะถูกขยายออกจนกระทั่งช่องว่างมากที่สุด หลังจากนั้นช่องว่างจะเริ่มลดลงก็เป็นจังหวะอัด การทำงานของปั๊มชนิดนี้จะเงียบ ไม่มีเสียงดัง การเพิ่มหรือลดอัตราการใหลของปั๊มชนิดนี้ขึ้นอยู่กับการควบคุมความเร็วรอบ - ปั๊มดูดเชื้อเพลิงระบบไฟฟ้า (Electric Pump)
หลักการทำงานของปั๊มชนิดนี้ก็คือ เป็นการน้ำมอเตอร์ไฟฟ้าไปขับเคลื่อนเพลาขับของปั๊ม และจะทำให้อัตราการใหลของน้ำมันคงที่สม่ำเสมอ ตามความเร็วรอบที่กำหนด การทำงานของปั๊มชนิดนี้จะมีเสียงดังมาก สำหรับรุ่นที่มอเตอร์ไฟฟ้าและแม่ปั๊มติดกัน (Direct Drive) - ปั๊มดูดน้ำมันระบบลม (Diaphragm pump)
หลักการทำงานของปั๊มชนิดนี้ก็คือ ปั้มไดอะแฟรม (Diaphragm pump) จะเป็นการส่งถ่ายแรงแบบอัด โดยจุดเริ่มต้นของแรงส่งมาจาก motor จากนั้นแรงผ่านชุดส่งกำลังมาหาลูกสูบ (Plunger)ในจังหวะขาส่ง ลูกสูบดันตัวส่งถ่ายแรงไปให้น้ำมัน (Hydraulic oil) และน้ำมันส่งแรงไปดันแผ่นไดอะแฟรม อีกที หลังจากนั้นแผ่นไดอะแฟรม จะไปดันของเหลวให้เกิดการอัดตัวขึ้น โดยเช็ควาล์วขาดูดอยู่ตำแหน่งปิด และเช็ควาล์วขาส่งอยู่ตำแหน่งเปิดเพื่อสร้างแรงดัน
ในจังหวะขาดูด ลูกสูบจะดันตัวกลับ หลังจากนั้นน้ำมันจะสร้างแรงดูดไปดูดแผ่นไดอะแฟรม จากนั้นของเหลวจะถูกดูดเข้ามาด้านในห้องแรงดัน โดยเช็ควาล์วขาดูดอยู่ตำแหน่งเปิด และเช็ควาล์วขาส่งอยู่ตำแหน่งปิดเพื่อสร้างแรงดูดเข้ามา
และเป็นแบบนี้ซ้ำๆ หรือที่เรียกว่า Cycle) และเกิดเป็นความดันและอัตราการไหล (ในกราฟ p-V diagram ด้านล่างนะครับ)
ปั๊มดูดน้ำมันดีเซลต่างจากปั๊มดูดน้ำมันเบนซิน
การออกแบบต่างกัน การออกแบบของปั๊มสูบจ่ายน้ำมันดีเซลและปั๊มสูบจ่ายน้ำมันเบนซิน จะแตกต่างกันจากวัสดุที่ใช้ในการผลิต ในส่วนของห้องแม่ปั๊มและห้องของระบบไฟฟ้า ซึ่งหากเป็นแม่ปั๊มที่ใช้ดูดน้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าดหรือน้ำมันที่ไวไฟมาก จะมีการออกแบบโครงสร้างแบบมาตรฐานที่ได้รับเครื่องหมายรับรอง EX (Explosion Proof Motor)
ชนิดน้ำมันเชื้อเพลิง ในส่วนของน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องยนต์ดีเซลแม้ว่าจะจุดติดไฟได้ง่ายด้วยอุณหภูมิที่ไม่สูง แต่ก็ให้พลังงานสูงกว่าเครื่องยนต์เบนซิน เนื่องจากมีอะตอมไฮโดรเจนมากกว่านั่นเอง ในทางวิทยาศาสตร์การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงทำให้เกิดพลังงาน แต่การเกิดพลังงานจะมากน้อยเพียงใดต้องขึ้นอยู่กับปริมาณอะตอมของไฮโดรเจนในโมเลกุลนั้น ๆ ด้วย ทั้งนี้ น้ำมันโซล่า ที่ใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลจะมีราคาถูกกว่า น้ำมันเบนซินที่ใช้กับเครื่องยนต์แก๊สโซลีน
น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันเชื้อเพลิงในปัจจุบันที่ใช้ตามตลาดทั่วไปนั้นจะมี 2 ชนิดใหญ่ๆคือ น้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซล ซึ่งมีความต่างกันจรงที่ จุดเดือน และการใช้งานของแต่ละเครื่องยนต์ โดยน้ำมันเบนซินนั้นจะมีจุดเดือดอยู่ที่ 150-250 องศาเซลเซียส ซึ่งสามารถจุดไฟติดได้ง่ายกว่าน้ำมันทุกประเภท ทำให้อุปกรณ์ที่ใช้กับน้ำมันเบนซินนั้นต้องมีการป้องกันการรั่วซึมอย่างดี และทนความร้อนได้ดีกว่า หรือมีสัญญาลักษณ์ Ex อยู่ที่อุปกรณ์นั้น ๆ ด้วย น้ำมันดีเซล จะมีจุดเดือนที่ต่ำกว่าน้ำมันเบนซิน อยู่ที่ 250-350 องศาเซลเซียส อุปกรณ์ที่ใช้ก็สามารถใช้ได้ทั้งแบบเดียวกับของเบนซิน หรือจะเป็นเฉพาะของน้ำมันก็ได้
จุดเดือดที่แตกต่างของน้ำมัน ทำให้อุปกรณ์แต่ละชนิดแตกต่างกันออกไป น้ำมันเบนซิน ต้องมีการทนความร้อนได้ดี มีมาตรฐาน Ex น้ำมันดีเซล มีวัสดุที่แข็งแรง สามารถจ่ายน้ำมันได้อย่างสม่ำเสมอน้ำมันหล่อลื่น ตัวเล็ก เหมาะกับงานช่าง ใช้แรงในการดูดเยอะกว่าเพราะมันหนืด
สำหรับท่านนักลงทุน หรือ ท่านผู้ประกอบการที่สนใจอยากจะเข้ามาในสนามธุรกิจสถานีบริการน้ำมัน ทางพีดี เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ ซัพพลาย ยินดีให้คำปรึกษา เราเป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่าย หัวจ่ายน้ำมัน ปั๊มดูดน้ำมัน ตู้จ่ายน้ำมัน ระบบจัดการน้ำมัน ในองค์กร ฯลฯ มาที่เราที่เดียวจบ เราพร้อมให้คำแนะนำอย่างมืออาชีพ เพื่อให้คุณมั่นใจว่า เรามีความเชี่ยวชาญในเรื่องสถานีบริการน้ำมัน
สำหรับปั๊มดูดน้ำมัน ของบริษัทเรานั้นมีทั้งระบบไฟฟ้า และระบบลม โดยนำเข้าจากต่างประเทศมาตรฐานสากลของประเทศอิตาลีภายใต้เเบรนด์สินค้า PIUSI ซึ่งมีปั๊มดูดน้ำมันให้เลือกถึง 12 แบบที่มาพร้อมมอเตอร์กันระเบิด ให้ผู้ประกอบการเลือกใช้ได้ตามความต้องการ รวมถึงเลือกได้เฉพาะเจาะจงกับธุรกิจของท่าน นอกจากนี้ยังมีมิเตอร์วัดปริมาณน้ำมันระบบดิจิตอลและระบบแมคคานิค ไส้กรอง และหัวจ่ายน้ำมัน เรียกว่า One-Stop-Service ที่นี่ที่เดียว
สนใจสอบถามรายละเอียดและราคาติดต่อ :
บจก.พีดีเอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ซัพพลาย
โทรศัพท์ : 065-5121818 (ฝ่ายขาย) หรือ 089-9966974 (สายด่วน)
Website : www.pdesupply.com
Email : peerapong.p@pdesupply.com
LINE : @pdengineering